Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/59
Title: CONSTRUCTION OPERATION SIMULATION FOR PRODUCTIVITYIMPROVEMENT : A CASE STUDY OF SLIP-FORMCONCRETE PAVEMENT OPERATION
การจำลองกระบวนการก่อสร้างเพื่อปรับปรุงผลิตภาพ : กรณีศึกษา กระบวนการปูผิวทางคอนกรีตแบบเลื่อน
Authors: PONGSATON CHINBUT
พงศธร ชินบุตร
KAMOLWAN LUEPRASERT
กมลวัลย์ ลือประเสริฐ
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
KAMOLWAN LUEPRASERT
กมลวัลย์ ลือประเสริฐ
kamolwan.l@eng.kmutnb.ac.th,kamolwan@kmutnb.ac.th
kamolwan.l@eng.kmutnb.ac.th,kamolwan@kmutnb.ac.th
Keywords: การจำลองกระบวนการก่อสร้าง
กระบวนการปูผิวทางคอนกรีตแบบเลื่อน
ผลิตภาพ
Construction Operation Simulation
Slip-Form Concrete Pavement Operation
Productivity
Issue Date:  15
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: This study summarized the processes and activity durations of slip-form concrete pavement operation and fixed-form concrete pavement operation from an actual project. Repetitive Scheduling Method (RSM) and Activity Cycle Diagram (ACD) were used to model both operations. The daily reports from the case study project were analyzed. It was found that the average slip-form paving production was 901 sq.m. or 57 concrete truckloads with a highest production of 2,198 sq.m. or 138 truckloads per day. For the fixed-form pavement operation, the average production was 215 sq.m. or 22 mixer truckloads, with a highest production of 970 sq.m. or 97 mixer truckloads per day. The RSM and ACD models of both operations produced corresponding results to the actual operations. The models successfully identified the bottleneck activities and inefficient resource utilization within both the slip-form and fixed-form paving operations. By increasing the number of pavement finishing teams and reducing the number of trucks in the RSM and ACD models for both slip-form and fixed form operations, the paving production were increased by nearly 2.5 times, thus, reducing the costs by more than half. In conclusion, both RSM and ACD were effective for modeling construction operations and analyzing productivity. General spreadsheet programs can be used to model construction operation as RSM graphs, but specialized software is required to model ACD. The result of the RSM model can also be used for project control. However, RSM model needs to be reconstructed for any adjustments. On the contrary, the developed ACD model can easily be revised.
การศึกษานี้สรุปขั้นตอนและระยะเวลาของกิจกรรมในกระบวนการปูผิวทางคอนกรีตแบบเลื่อนและกระบวนการเข้าแบบเทคอนกรีตผิวทางปอร์ตแลนด์ซีเมนต์คอนกรีตจากโครงการกรณีศึกษา เพื่อทำการจำลองกระบวนการทั้งสองด้วยวิธีการวางแผนงานที่มีลักษณะซ้ำ (RSM) และโปรแกรมจำลองวงจรของกิจกรรมในกระบวนการก่อสร้าง (ACD) จากข้อมูลรายงานประจำวันของกรณีศึกษาพบว่าสามารถปูผิวทางแบบเลื่อนได้เฉลี่ย 901 ตร.ม.ต่อวันหรือ 57 คันรถ สูงสุดที่ 2,198 ตร.ม.ต่อวันหรือ 138 คันรถ และสามารถเข้าแบบเทคอนกรีตผิวทางต่อวันเฉลี่ย 215 ตร.ม. หรือ 22 คันรถ สูงสุดที่ 970 ตร.ม.ต่อวันหรือ 97 คันรถ เมื่อนำข้อมูลกิจกรรมของกระบวนการทั้งสองมาสร้างแบบจำลองพบว่าวิธีการจำลอง RSM และ ACD นอกจากให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับผลการดำเนินการจริงทั้งสองกระบวนการแล้ว ยังสามารถบ่งชี้กิจกรรมที่เป็นคอขวดและการใช้ทรัพยากรที่ไม่เต็มประสิทธิภาพภายในกระบวนการปูผิวทางแบบเลื่อนและกระบวนการเข้าแบบเทคอนกรีตได้ โดยเมื่อทดลองปรับเพิ่มจำนวนทีมงานแต่งผิวหน้าเรียบและลดจำนวนรถบรรทุกของกระบวนการปูผิวทางแบบเลื่อนในแบบจำลอง RSM และ ACD พบว่าสามารถปูผิวทางเพิ่มขึ้นได้เกือบ 2.5 เท่าและลดต้นทุนต่อหน่วยลงกว่าครึ่ง เช่นเดียวกันกับการปรับเพิ่มทีมงานเทคอนกรีตและลดจำนวนรถขนส่งของกระบวนการเข้าแบบเทคอนกรีตที่ให้ผลลัพธ์ดีขึ้นเช่นกัน โดยสรุปแล้ววิธีการจำลอง RSM และ ACD สามารถใช้จำลองกระบวนการจริง เพื่อการปรับปรุงผลิตภาพได้อย่างดี โดยสามารถใช้โปรแกรมตารางคำนวณทั่วไปในการสร้างแบบจำลองกระบวนการเป็นกราฟแผนงาน RSM แต่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะหากจำลองด้วยวิธี ACD ทั้งนี้สามารถอ่านแผนงาน RSM เพื่อการควบคุมงานได้ง่ายกว่า ACD แต่จะต้องจัดทำแผนงาน RSM ใหม่หากมีการปรับทรัพยากร ต่างจากวิธี ACD ที่สามารถปรับค่าในแบบจำลองที่พัฒนาไว้ได้ง่าย
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/59
Appears in Collections:FACULTY OF ENGINEERING

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6501081811018.pdf15.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.