Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/31
Title: | Prioritization for routine overpass bridges maintenance in the responsibility of Public Works Department การจัดลำดับความสำคัญสำหรับการซ่อมบำรุงปกติของสะพานข้ามทางแยกในความรับผิดชอบของ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร |
Authors: | SITTINON KONGMIN สิทธินนท์ คงมินทร์ CHAIRAT TEERAWATTANASUK ชัยรัตน์ ธีระวัฒนสุข King Mongkut's University of Technology North Bangkok CHAIRAT TEERAWATTANASUK ชัยรัตน์ ธีระวัฒนสุข chairat.t@cit.kmutnb.ac.th,chairatte@kmutnb.ac.th chairat.t@cit.kmutnb.ac.th,chairatte@kmutnb.ac.th |
Keywords: | การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น การซ่อมบำรุงปกติ การตัดสินใจ Analytic Hierarchy Process Routine road maintenance Decision Making |
Issue Date: | 9 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | The objective of this master project is to study the factors influencing decision-making in routine maintenance of overpass under the responsibility of Public Works Department. The Analytic Hierarchy Process (AHP) was employed in this study, where decision-makers involved in the maintenance of overpasses were interviewed to complete the AHP questionnaires. The study focused on five overpasses consists of: Lamsali, Prachanukul, Khlong Tan, Phong Phet, and Sukhaphiban Five -Theparak overpasses.The research findings indicate that decision-makers assigned the following weights to the main factors, from highest to lowest: condition of damage (32%), International Roughness Index (22%), number of complaints (13%), traffic volume (11%), policy urgency (9%), number of accidents (6%), and population density (4%), respectively. When comparing the five overpasses using these factors, the overpasses prioritization ranked as follows: Lamsali (32%), Prachanukul (22%), Khlong Tan (20%), Phong Phet (20%), and Sukhaphiban Five -Theparak (6%). These findings can serve as a guideline for planning and prioritizing the routine overpass maintenance more effectively in the future. สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงปกติของสะพานข้ามทางแยกในความรับผิดชอบของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) โดยสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซ่อมบำรุงสะพานข้ามทางแยกเพื่อทำแบบสอบถาม AHP และให้ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซ่อมบำรุงสะพานข้ามทางแยกเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม มีจำนวน 5 สะพาน ได้แก่ สะพานข้ามทางแยกลำสาลี สะพานข้ามทางแยกประชานุกูล สะพานข้ามทางแยกคลองตัน สะพานข้ามทางแยกพงษ์เพชร และสะพานข้ามทางแยกสุขาภิบาล 5 – เทพรักษ์ผลจากการวิจัยพบว่าผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซ่อมบำรุงสะพานข้ามทางแยกให้ค่าน้ำหนักของปัจจัยหลัก จากมากไปหาน้อยดังนี้ สภาพความเสียหาย คิดเป็นร้อยละ 32 ค่าดัชนีความเรียบสากล คิดเป็นร้อยละ 22 จำนวนข้อร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 13 ปริมาณจราจร คิดเป็นร้อยละ 11 ความเร่งด่วนทางด้านนโยบาย คิดเป็นร้อยละ 9 จำนวนอุบัติเหตุ คิดเป็นร้อยละ 6 และความหนาแน่นของประชากร คิดเป็นร้อยละ 4 ตามลำดับ เมื่อนำปัจจัยหลักเปรียบเทียบเชิงคู่กับสะพานข้ามทางแยกในความรับผิดชอบของสำนักการโยธา จำนวน 5 สะพาน จัดลำดับความสำคัญเรียงค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ สะพานข้ามทางแยกลำสาลี คิดเป็นร้อยละ 32 สะพานข้ามทางแยกประชานุกูล คิดเป็นร้อยละ 22 สะพานข้ามทางแยกคลองตัน และสะพานข้ามทางแยกพงษ์เพชร คิดเป็นร้อยละ 20 สะพานข้ามทางแยกสุขาภิบาล 5 – เทพรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 6 ผลการวิจัยดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการซ่อมบำรุงสะพานข้ามทางแยกอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/31 |
Appears in Collections: | COLLEGE OF INDUSTRIAL TECHNOLOGY |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6503062851559.pdf | 9.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.