Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/82
Title: | Causal and Consequence Factors of Effective Listening in Government Teachers and Educational Personnel ปัจจัยเชิงเหตุและผลของการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา |
Authors: | WARANYOO ONGSARA วรัญญู องศารา PINKANOK WONGPINPECH PIBOOLTAEW ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ พิบูลแถว King Mongkut's University of Technology North Bangkok PINKANOK WONGPINPECH PIBOOLTAEW ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ พิบูลแถว pinkanok.w@arts.kmutnb.ac.th,pinkanokw@kmutnb.ac.th pinkanok.w@arts.kmutnb.ac.th,pinkanokw@kmutnb.ac.th |
Keywords: | การเชื่อมโยงระหว่างบุคคล การฟังที่มีประสิทธิผล การมีสติในการทำงาน ความไวในการรับรู้ทางสังคม การกำกับอารมณ์ Interpersonal Connectedness Effective Listening Mindfulness at Work Social Sensitivity Emotion Regulation |
Issue Date: | 9 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | The purposes of this research was: 1) to test the measurement model of interpersonal connectedness, effective listening, mindfulness at work, social sensitivity, and emotion regulation among government teachers and educational personnel; 2) to examine the consistency of the causal relationship model of effective listening of government teachers and educational personnel with empirical data; 3) to explore guidelines for developing a training program on effective listening for government teachers and educational personnel; 4) to study the effects of the training program on developing effective listening for government teachers and educational personnel.This research was a research and development using a mixed-methodology design, dividing the study into 4 phases.Phase I: This stage used confirmatory factor analysis (CFA) as a quantitative research approach. The sample consisted of 150 government teachers and educational personnel teaching in secondary schools in the southern region (Phang Nga, Phuket, and Ranong provinces). Data were collected using a 5-point Likert scale questionnaire. The analysis revealed that the measurement model for interpersonal connection, effective listening, mindfulness at work, social perception sensitivity, and emotion regulation was consistent with empirical data.Phase II: Structural equation modeling (SEM) was used in this phase as a quantitative research method. The sample included 702 government teachers and educational personnel from eight southern regions. A 5-point Likert scale questionnaire was used to collect data on five variables: interpersonal connection, effective listening, mindfulness at work, social perception sensitivity, and emotion regulation. The analysis showed that the causal relationship model of effective listening was consistent with empirical data.Phase III: This phase employed a qualitative research method to explore guidelines for developing an effective listening training program. Key informants included 16 individuals: 10 government teachers and educational personnel (2 from each of 5 regions), 3 administrators or academic experts in education, and 3 psychologists or experts in psychology. Data were analyzed using content analysis. The findings indicated that the development of an effective listening training program should be based on a specific program design.Phase IV: This experimental quantitative research phase involved a sample of 15 government teachers and educational personnel working at Palian Phadung Sits School. Data collection tools included questionnaires and the developed training program. The findings revealed the following: (1) Government teachers and educational personnel demonstrated statistically significant differences in effective listening and interpersonal connectedness before, after, and during the follow-up phases (p การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทดสอบโมเดลการวัดของการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล การฟังที่มีประสิทธิผล การมีสติในการทำงาน ความไวในการรับรู้ทางสังคม และการกำกับอารมณ์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสานวิธีและออกแบบการวิจัยเป็นแบบหลายระยะ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้การวิจัยระยะที่ 1 ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สอนในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา เขตภาคใต้ คือ สพม. พังงา ภูเก็ต ระนอง จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล การฟังที่มีประสิทธิผล การมีสติในการทำงาน ความไวในการรับรู้ทางสังคม และการกำกับอารมณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์การวิจัยระยะที่ 2 ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สอนในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา เขตภาคใต้ 8 เขต จำนวน 702 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 5 ตัวแปร ได้แก่ การเชื่อมโยงระหว่างบุคคล การฟังที่มีประสิทธิผล การมีสติในการทำงาน ความไวในการรับรู้ทางสังคม และการกำกับอารมณ์โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์การวิจัยระยะที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ประกอบด้วย 1) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 5 เขต เขตละ 2 คน จำนวน 10 คน 2) ผู้บริหารหรือนักวิชาการทางการศึกษา จำนวน 3 คน และ 3) นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ การพัฒนาการฟังที่มีประสิทธิผลด้วยโปรแกรมฝึกอบรมการวิจัยระยะที่ 4 ใช้การวิจัยเชิงทดลองซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและโปรแกรมการฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีการฟังที่มีประสิทธิผลและการเชื่อมโยงระหว่างบุคคลในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และการติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีคะแนนการฟังที่มีประสิทธิผลและการเชื่อมโยงระหว่างบุคคลระยะการติดตามผลมากกว่าก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ (3) โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีอิทธิพลต่อการฟังที่มีประสิทธิผลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการฟังที่มีประสิทธิผลมีอิทธิพลต่อการเชื่อมโยงระหว่างบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/82 |
Appears in Collections: | FACULTY OF APPLIED ARTS |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6508031910019.pdf | 12.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.