Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/37
Title: Factors Influencing Elderly Consumers' Choice of   Elder care Centres in Nonthaburi Province
ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้ศูนย์ผู้สูงอายุของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี
Authors: PLAIOR PHONORTHONG
ปลายอ้อ โพธิ์หน่อทอง
TAWEESAK ROOPSING
ทวีศักดิ์ รูปสิงห์
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
TAWEESAK ROOPSING
ทวีศักดิ์ รูปสิงห์
taweesak.r@fba.kmutnb.ac.th,taweesakr@kmutnb.ac.th
taweesak.r@fba.kmutnb.ac.th,taweesakr@kmutnb.ac.th
Keywords: (มีจำนวนทั้งสิ้น 89 หน้า)ผู้บริโภค
พฤติกรรมการเลือกใช้
ศูนย์ผู้สูงอายุ
ส่วนประสมทางการตลาด
Consumers
Behavior in choosing
Elderly care center
marketing mix.
Issue Date:  9
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: Thailand is currently facing significant demographic changes as it fully transitions into an aging society, leading to an increasing demand for elderly care. This is particularly evident in Nonthaburi province, which has a high elderly population. The rise in the number of senior citizens in this area is a key factor driving the emergence of various elderly care centers to meet the growing need for quality and standardized care. Consequently, selecting an elderly care center has become crucial for families and caregivers, as seniors have specific health, physical, and mental care requirements.      This independent research study aims to examine the importance of factors influencing consumers' decisions when choosing elderly care centers in Nonthaburi province. The sample consisted of 100 consumers interested in utilizing elderly care services and residing in Nonthaburi, selected through random sampling. Factors Influencing Elderly Consumers' Choice Elder Care Centers in Nonthaburi Province. The statistical methods employed for data analysis included percentages, means, standard deviations, and factor analysis.The research findings revealed that:       1) The majority of respondents were female, under 40 years old, with a bachelor’s degree, single status, employed in companies, and had an average monthly income of 20,001 - 40,000 baht. The relationship with the elderly person requiring care was primarily as a relative.       2) The overall importance level of factors influencing the decision to choose elderly care centers among consumers in Nonthaburi was high, with an average score of 4.27. When analyzed by category, it was found that the importance levels for products, price, location, marketing promotion, personnel, processes, and physical environment were all rated as significant. Specifically, the product factor had an average score of 4.32, the price factor 4.23, the location factor 4.27, the marketing communication and promotion factor 4.13, the personnel factor 4.44, the process factor 4.25, and the physical environment factor 4.25.       3) Factor analysis regarding the decision-making process for choosing elderly care centers in Nonthaburi indicated a KMO value of 0.773, with a total of 7 principal components identified and 27 sub-components.(total 89 page)
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่สำคัญจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้ความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีจำนวนประชากรสูงอายุมาก การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุในจังหวัดนี้เป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่หลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการด้านการดูแลที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ทั้งนี้ การเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกลายเป็นเรื่องสำคัญของครอบครัวและผู้ดูแล เนื่องจากผู้สูงอายุมีความต้องการดูแลที่เฉพาะเจาะจงในด้านสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ      การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้ศูนย์ผู้สูงอายุของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ กลุ่มผู้บริโภคที่สนใจเลือกใช้ศุนย์ผู้สูงอายุและอาศัยอยู่ในจังหวัด นนทบุรี จำนวน 100 คน ได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามออนไลน์ โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้ศูนย์ผู้สูงอายุของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบ      ผลการวิจัยพบว่า      1. กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด พนักงานบริษัท และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 40,000 บาท บาท ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุที่ต้องการใช้บริการ เป็นญาติ      2. ระดับความสำคัญของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้ศูนย์ผู้สูงอายุของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีผลโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อยู่ในระดับความสำคัญมาก โดยด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ด้านราคามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ด้านสถานที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 ด้านการสื่อสารและการส่งเสริมทางการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 4.25 ตามลำดับ      3. การวิเคราะห์องค์ประกอบเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้ศูนย์ผู้สูงอายุของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี พบว่าได้ได้ค่า KMO = 0.773 องค์ประกอบหลักทั้งหมดมี 7 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อยมี 27 องค์ประกอบ
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/37
Appears in Collections:FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6614011854127.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.