Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/367
Title: | Relationship between Psychological Well-being and Intention to Stay of Private Hospital Staff ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะทางจิตและความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชน |
Authors: | YAOWANAT CHAISANGASILP เยาวนาฏ ไชยสง่าศิลป์ NONTIRAT PATTANAPAKDEE นนทิรัตน์ พัฒนภักดี King Mongkut's University of Technology North Bangkok NONTIRAT PATTANAPAKDEE นนทิรัตน์ พัฒนภักดี nontirat.p@arts.kmutnb.ac.th,nontiratp@kmutnb.ac.th nontirat.p@arts.kmutnb.ac.th,nontiratp@kmutnb.ac.th |
Keywords: | สุขภาวะทางจิต ความตั้งใจคงอยู่ในงาน บุคลากรโรงพยาบาลเอกชน Psychological Well-being Intention to Stay Private Hospital Staff |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | The objectives of this research are 1) to study levels of psychological well-being and intention to stay of private hospital staff 2) to study relationship between psychological well-being and intention to stay of private hospital staff. The sample consisted of 310 private hospital staff. The instrument was a questionnaire. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and partial correlation. The results revealed that 1) the levels of psychological well-being and Intention to stay of private hospital staff were rated at a high average level. 2) psychological well-being was positively related to Intention to stay of private hospital staff with a statistical significance at .01 level (r = .474) 3) using partial correlation to control for the other dimensions of psychological well-being it was found that: self-acceptance and purpose in life was positively correlated with intention to stay of private hospital staff at the statistical significance level of .01 (r = .206 and r = .158 respectively). However one facet of psychological well-being: positive relations with others was negatively correlated with intention to stay of private hospital staff at the statistical significance level of .05 (r=-.119) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสุขภาวะทางจิตและความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะทางจิตและความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเชิงส่วน ผลการวิจัยพบว่า 1) สุขภาวะทางจิตและความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 2) สุขภาวะทางจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .474) 3) เมื่อควบคุมตัวแปรสุขภาวะทางจิตรายด้านด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเชิงส่วน พบว่า สุขภาวะทางจิตด้านการยอมรับตนเอง และสุขภาวะทางจิตด้านการมีเป้าหมายในชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจคงอยู่ในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.206 และ r=.158 ตามลำดับ) ส่วนสุขภาวะทางจิตด้านการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจคงอยู่ในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.119) |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/367 |
Appears in Collections: | FACULTY OF APPLIED ARTS |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6608031816097.pdf | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.