Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/333
Title: The Importance of Marketing Mix Factors and  Attitudes towards Electric Vehicles among Government Officials.
ความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดและทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV ในกลุ่มข้าราชการ
Authors: SARUNYU TONGTAJA
ศรัญญู ทองเตจา
JUSANA TECHAKANA
ชุษณะ เตชคณา
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
JUSANA TECHAKANA
ชุษณะ เตชคณา
jusana.t@fba.kmutnb.ac.th,jusanat@kmutnb.ac.th
jusana.t@fba.kmutnb.ac.th,jusanat@kmutnb.ac.th
Keywords: รถยนต์ EV
รถยนต์ไฮบริด
ส่วนผสมการตลาด
ทัศนคติ
กลุ่มข้าราชการ
ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล
Electric vehicles
Hybrid vehicles
Marketing mix
Attitudes
Government Officials
Personal factors
Issue Date:  8
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: This research aimed to study the significance of marketing mix factors and attitudes towards electric vehicles (EVs) among government officials. Data were collected from a sample of 400 respondents, who regularly used personal vehicles in their daily lives. The research instrument was a questionnaire divided into three sections: personal information, attitudes towards EVs, and the importance of marketing mix factors related to EVs. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Independent t-test, and One-way ANOVA.The findings revealed that the majority of respondents were male, aged between 30–40 years, held a bachelor’s degree or higher, were single, worked in academic or operational positions, earned an average monthly income of 20,001–30,000 baht, lived outside the Bangkok and its vicinity, and resided in private residences. Regarding attitudes, most currently used internal combustion engine (ICE) vehicles, with Honda being the most used brand. BYD was the most recognized EV brand, and social media was the main source of EV information. The most perceived advantage of EVs was the elimination of fuel costs. Tesla was the most preferred brand for future EV purchases, with an ideal price range of 1,000,001–2,000,000 baht. The main reason for purchasing an EV was fuel cost savings. In terms of the marketing mix, respondents placed a high level of importance on all aspects (= 3.88), ranked from highest to lowest as follows: People (= 3.94), Promotion (= 3.92), Product (= 3.89), Process (= 3.88), Place (= 3.87), Price (= 3.86), and Profile (= 83) Hypothesis testing revealed that personal factors such as average monthly income, place of residence, type of accommodation, and marital status were significantly associated with the type of vehicle used. Furthermore, different marital statuses led to statistically significant differences in the overall and specific aspects of the marketing mix, including Price, Place, Promotion, and Profile.Analysis of the relationship between personal factors such as gender, age, education level, income, location of residence, and job level and attitudes towards EVs showed statistically significant relationships at the 0.05 level. Moreover, comparisons of mean differences in the importance of marketing mix factors based on personal data revealed significant differences in education level, job level, income, location of residence, and type of accommodation at the 0.05 level.The comparison of the differences between the mean values ​​of the importance of marketing mix in the decision to purchase electric vehicles of Government Officials classified by attitude groups found that overall and in all aspects, there were statistically significant differences at the .05 level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดและทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV ในกลุ่มข้าราชการ โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นกิจวัตรประจำวัน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV และการให้ความสำคัญต่อส่วนผสมทางการตลาดของรถยนต์ EV วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-Square, Independent t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30 - 40 ปี วุฒิการศึกษาเทียบเท่าปริญญตรีหรือสูงกว่า สถานะภาพโสด ระดับตำแหน่งสายงานวิชาการและสายงานปฏิบัติการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท อาศัยอยู่นอกกรุงเทพฯ และปริมณฑล และพักอาศัยในบ้านพักส่วนตัว ด้านทัศนคติพบว่า ส่วนใหญ่ใช้รถยนต์สันดาปภายใน แบรนด์รถยนต์ที่ใช้ปัจจุบัน Honda แบรนด์รถยนต์ EV ที่รู้จักมากที่สุดคือ BYD ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารหลักคือโซเชียลมีเดีย ทัศนคติต่อข้อดีของรถยนต์ EV คือไม่ต้องเติมน้ำมัน แบรนด์รถยนต์ EV ที่จะเลือกซื้อในอนาคตคือ Tesla ราคาที่สนใจคือ 1,000,001 - 2,000,000 บาท โดยเหตุผลหลักในการซื้อคือประหยัดค่าเชื้อเพลิง ในด้านส่วนผสมทางการตลาด พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (People) (= 3.94) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) (= 3.92) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) (= 3.89) ด้านกระบวนการให้บริการ (Process) (= 3.88) ด้านสถานที่ซื้อและช่องทางจัดจำหน่าย (Place) (= 3.87) ด้านราคา (Price) (= 3.86) และด้านภาพลักษณ์ขององค์กร (Profile) (= 3.83) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานที่พักอาศัย รูปแบบที่พักอาศัย และสถานภาพการสมรส มีความสัมพันธ์กับประเภทรถยนต์ที่ใช้เป็นประจำ นอกจากนี้พบว่าสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อส่วนผสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในภาพรวมและรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านราคา (Price) ด้านสถานที่ซื้อและช่องทางจัดจำหน่าย (Place) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) และด้านภาพลักษณ์องค์กร (Profile) ตามลำดับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลในกลุ่มข้าราชการ ในด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานที่ตั้งของที่พักอาศัย และระดับตำแหน่งงาน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของการให้ความสำคัญกับส่วนผสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV ในกลุ่มข้าราชการ จำแนกตามข้อมูลปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ในด้าน วุฒิการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานที่ตั้งของที่พักอาศัย และลักษณะของที่พักอาศัย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของการให้ความสำคัญกับส่วนผสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV ในกลุ่มข้าราชการจำแนกตามกลุ่มของทัศนคติ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านทั้งหมด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/333
Appears in Collections:FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6614011858319.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.