Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/325
Title: Factors affecting the success of multi-product maintenance that everyone is involved in the Petrochemical industry, Rayong Province
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จังหวัดระยอง
Authors: NOPPARAT JANTARAT
นพรัตน์ จันทรัตน์
THITIRAT THAWORNSUJARITKUL
ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
THITIRAT THAWORNSUJARITKUL
ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล
thitirat.t@fba.kmutnb.ac.th,thitiratth@kmutnb.ac.th
thitirat.t@fba.kmutnb.ac.th,thitiratth@kmutnb.ac.th
Keywords: ความสำเร็จ
การบำรุงรักษาแบบทวีผล
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
Success
Total Productive Maintenance
Petrochemical Industry
Issue Date:  8
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: This study aimed to identify factors influencing the petrochemical industry’s performance, focusing on cost reduction in production and maintenance. Data were collected via questionnaires from 163 randomly selected machinery maintenance personnel in Rayong Province. Statistical tools such as frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, ANOVA, and Scheff’s method were used for analysis.Most respondents were male, aged 31–45, in supervisory roles, with postgraduate education, income over 50,000 baht, and over 5 years of experience in businesses operating for more than 10 years. They highly valued key success factors in the petrochemical industry. The average scores for each factor were as follows: Autonomous Maintenance ( = 4.20), Planned Maintenance ( = 4.19), Focused Improvement ( = 4.18), Early Equipment Management ( = 4.07), Quality Maintenance ( = 4.21), Education and Training ( = 4.26), Safety, Health, and Environment ( = 4.27), and Office TPM ( = 4.19). The analysis indicated that significant differences existed in various TPM components when categorized by gender, age, job position, and work experience. Specifically, gender differences were found in Autonomous Maintenance and Office TPM. Age groups showed variation in Planned Maintenance, Early Equipment Management, Quality Maintenance, Education and Training, and Office TPM. Differences by job position were observed in Planned Maintenance. Work experience also influenced perceptions regarding team participation in maintenance, adherence to planned schedules, benefits of improvement efforts, and the importance of training. The study employed a statistical significance level of 0.05.
องค์กรต่างๆต้องการความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจด้วยการลดต้นทุนการผลิตและต้นทุนการบำรุงรักษาการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานที่รับผิดชอบงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จังหวัดระยองจำนวน 163 ราย โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, Anova และ Shefferผลวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-45 ปี ระดับหัวหน้างาน การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รายได้มากกว่า 50,000 บาท อายุงานมากกว่า 5 ปี ระยะเวลาดำเนินธุรกิจมากกว่า 10 ปี ให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยด้าน การบำรุงรักษาด้วยตนเอง ( = 4.20) ด้านการบำรุงรักษาตามแผน ( = 4.19) ด้านการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง ( = 4.18) ด้านการบริหารจัดการเครื่องมือในขั้นตอนแรก ( = 4.07) ด้านการจัดการคุณภาพ ( = 4.21) ด้านการศึกษาและฝึกอบรม ( = 4.26) ด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ( = 4.27) และด้าน TPM ในสำนักงาน ( = 4.19) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างจำแนกตามเพศพบว่าด้าน การบำรุงรักษาด้วยตนเองและด้าน TPM ในสำนักงาน แตกต่างกัน จำแนกตามช่วงอายุพบการบำรุงรักษาตามแผนด้านการบริหารจัดการเครื่องมือในขั้นตอนแรก ด้านการจัดการคุณภาพ ด้านการศึกษาและฝึกอบรมและด้านTPM ในสำนักงาน แตกต่างกัน จำแนกตามด้านตำแหน่งงานพบว่าด้านการบำรุงรักษาตามแผนแตกต่างกัน จำแนกตามด้านอายุงานกับปัจจัยรายย่อยพบว่าเห็นความสำคัญของการที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา เห็นความสำคัญตามแผนที่วางไว้ล่วงหน้า เห็นประโยชน์ของการปรับปรุงในการเพิ่มประสิทธิภาพ เห็นความสำคัญของการฝึกอบรม แตกต่างกันซึ่งการวิจัยครั้งนี้กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05.
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/325
Appears in Collections:FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6614011858203.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.