Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/322
Title: | The Importance of Marketing Mix Factors and Attitudes towards Electric Vehicles among Generation Y ความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดและทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV ในกลุ่ม Generation Y |
Authors: | SUCHANAREE WIENMANA สุชานรี เวียนมานะ JUSANA TECHAKANA ชุษณะ เตชคณา King Mongkut's University of Technology North Bangkok JUSANA TECHAKANA ชุษณะ เตชคณา jusana.t@fba.kmutnb.ac.th,jusanat@kmutnb.ac.th jusana.t@fba.kmutnb.ac.th,jusanat@kmutnb.ac.th |
Keywords: | รถยนต์ EV รถยนต์ไฮบริด ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ทัศนคติ ส่วนผสมทางการตลาด เจเนอเรชั่นวาย Electric Vehicles Hybrid Vehicles Personal Factors Attitudes Marketing Mix Generation Y |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | This research aims to study the importance of marketing mix factors and attitudes towards electric vehicles (EVs) among Generation Y individuals who use vehicles as part of their daily routine. The study employed quantitative data collection through questionnaires administered to 400 respondents. Data analysis utilized percentage, mean, standard deviation, Chi-Square, t-Test, ANOVA, and pairwise comparison using Scheffe's method with statistical significance set at the .05 level. The findings revealed that most respondents were male, aged 27-36 years, with a bachelor's degree or lower, employed in private companies, and earning less than 35,000 baht per month. The majority resided outside the Bangkok metropolitan area in private homes and were single. Regarding attitudes towards EVs, most respondents currently use internal combustion engine vehicles, with Toyota being the predominant brand choice due to price considerations. Most vehicles in use were less than 5 years old. Tesla was identified as the most recognized EV brand, with social media being the primary source of automotive information. Respondents perceived reduced pollution as the main advantage of EVs, cost efficiency for hybrid vehicles, and long-distance driving capability for internal combustion vehicles. Tesla was the preferred future EV purchase option within the 500,000 - 1,000,000 baht price range, with fuel cost savings cited as the primary purchase motivation. Most respondents considered EVs to be of comparable quality to hybrid vehicles. The importance given to marketing mix elements for EVs was overall high (X̄ = 3.99). In descending order of importance, respondents rated: Product (X̄ = 4.05), People (X̄ = 4.03), Profile and Promotion (X̄ = 4.00), Process (X̄ = 3.98), Price (X̄ = 3.95), and Place (X̄ = 3.91). Analysis of the relationship between attitudes towards EVs and personal factors revealed that gender, education level, monthly income, residence location, and housing type had a statistically significant relationship at the .05 level. The comparison of the importance of the marketing mix based on personal factors revealed that respondents with different levels of education, monthly income, and housing types had significantly different views on the importance of the marketing mix at the .05 level.The comparison of the importance of the marketing mix based on attitudes towards EV cars is classified into three groups: Group 1 believes that EV cars are of better quality than hybrid cars, Group 2 believes that EV cars are of similar quality to hybrid cars, and Group 3 believes that EV cars are of lower quality than hybrid cars, showed that attitudes towards EV cars significantly affect the importance of the marketing mix at the .05 level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดและทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV ในกลุ่ม เจเนอเรชั่นวาย ที่ใช้รถยนต์เป็นกิจวัตรประจำวัน การวิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square, t-Test, ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย Scheffe โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 27 – 36 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือต่ำกว่า มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 35,000 บาท สถานที่พักอาศัยนอกเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีรูปแบบของที่พักอาศัยเป็นบ้านพักส่วนตัว และมีสถานภาพทางการสมรสเป็นโสด ผลการวิจัยด้านทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้รถยนต์สันดาปภายใน แบรนด์ของรถยนต์ที่ใช้ในปัจจุบันคือ Toyota เหตุผลในการเลือกใช้รถยนต์แบรนด์นี้คือ ราคา จำนวนปีของรถยนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ น้อยกว่า 5 ปี แบรนด์รถยนต์ EV ที่รู้จักคือ Tesla ช่องทางการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์จากโซเชียลมีเดีย มีความคิดเห็นต่อข้อดีของรถยนต์ EV คือ ลดมลพิษ มีความคิดเห็นต่อข้อดีของรถยนต์ไฮบริด คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย มีความคิดเห็นต่อข้อดีของรถยนต์สันดาปภายใน คือ ขับได้ระยะไกล สำหรับแบรนด์รถยนต์ EV ที่จะเลือกหากต้องซื้อในอนาคต คือ Tesla มีราคาที่สนใจอยู่ระหว่าง 500,000 – 1,000,000 บาท เหตุผลของการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV คือ ประหยัดค่าเชื้อเพลิง และมีความคิดเห็นต่อการเปรียบเทียบรถยนต์ EV กับรถยนต์ไฮบริด คือ รถยนต์ EV มีคุณภาพใกล้เคียงกับรถยนต์ไฮบริด ผลการวิจัยด้านการให้ความสำคัญต่อส่วนผสมทางการตลาดของรถยนต์ EV โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̄ = 3.99) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสำคัญต่อส่วนผสมทางการตลาดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) (X̄ = 4.05), ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (People) (X̄ = 4.03), ด้านภาพลักษณ์องค์กร (Profile) และด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) (X̄ = 4.00), ด้านกระบวนการให้บริการ (Process) (X̄ = 3.98), ด้านราคา (Price) (X̄ = 3.95) และด้านสถานที่ซื้อและช่องทางจัดจำหน่าย (Place) (X̄ = 3.91) ตามลำดับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV กับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า ด้านเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานที่พักอาศัย และรูปแบบของที่พักอาศัย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า ด้านระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และรูปแบบของที่พักอาศัย ที่แตกต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดจำแนกตามทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 รถยนต์ EV มีคุณภาพดีกว่ารถยนต์ไฮบริด กลุ่มที่ 2 รถยนต์ EV มีคุณภาพใกล้เคียงกับรถยนต์ไฮบริด กลุ่มที่ 3 รถยนต์ EV มีคุณภาพด้อยกว่ารถยนต์ไฮบริด พบว่า ทัศนคติที่แตกต่างกันจะให้ความสำคัญต่อส่วนผสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/322 |
Appears in Collections: | FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6614011858165.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.