Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/321
Title: | The Importance of Marketing Mix Factors and Attitudes towards Electric Vehicles among White-Collar Workers. ความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดและทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV ในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน |
Authors: | PORNPREEYA JAITRONGPRASERT พรปรียา ใจตรงประเสริฐ JUSANA TECHAKANA ชุษณะ เตชคณา King Mongkut's University of Technology North Bangkok JUSANA TECHAKANA ชุษณะ เตชคณา jusana.t@fba.kmutnb.ac.th,jusanat@kmutnb.ac.th jusana.t@fba.kmutnb.ac.th,jusanat@kmutnb.ac.th |
Keywords: | รถยนต์ EV รถยนต์ไฮบริด ส่วนผสมการตลาด ทัศนคติ กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล Electric Vehicles Hybrid Vehicles Marketing Mix Attitudes White-Collar Workers Personal Factors |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | The research on "The Importance of Marketing Mix and Attitudes Towards Electric Vehicles Among White-Collar Workers" aims to examine White-Collar Workers' attitudes towards electric vehicles (EVs), the importance they place on marketing mix elements in purchasing decisions, the relationship between attitudes and demographic factors, and the differences in marketing mix importance based on demographic characteristics and attitudes among White-Collar Workers. The research employed questionnaires to collect data from a sample of 400 White-Collar Workers who use personal vehicles as part of their daily routine. Data analysis was conducted using SPSS software, applying descriptive statistics such as frequency, mean, and standard deviation for preliminary comparisons. Chi-Square tests were used to determine relationships between attitudes toward EVs and demographic factors, while t-tests and One-way ANOVA were employed to compare differences in marketing mix importance, with Scheffe's method for pairwise analysis, setting statistical significance at the .05 level.The findings revealed that most White-Collar Workers primarily use internal combustion engine vehicles and perceive EVs as having quality comparable to hybrid vehicles. They value not having to refill gasoline and reduced pollution as the main advantages of EVs. Most respondents were familiar with BYD electric vehicles, obtained information through social media, and showed a tendency to prefer Tesla and BYD if purchasing an EV. Regarding the marketing mix, White-Collar Workers placed high overall importance (X̄ = 4.03), with Product (X̄ = 4.23) ranked highest, followed by People (X̄ = 4.22), Process (X̄ = 4.16), Profile (X̄ = 4.05), Promotion (X̄ = 4.04), Price (X̄ = 3.98), and Place (X̄ = 3.98), respectively.Analysis of the relationship between demographic factors among White-Collar Workers —including gender, age, education level, Marital status, Job position, monthly income, residence location, and housing type showed a statistically significant relationship with attitudes towards EVs at the .05 level.Comparative analysis of the differences in marketing mix importance in EV purchasing decisions among White-Collar Workers, classified by demographic factors including age, education level, Job position, and monthly income, showed statistically significant differences at the .05 level.Comparison of mean differences in the importance of marketing mix elements in EV purchasing decisions regarding Promotion, when classified by attitude groups towards EVs, revealed statistically significant differences at the .05 level. การวิจัยเรื่อง "ความสำคัญของส่วนผสมทางการตลาดและทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV ในกลุ่ม พนักงานบริษัทเอกชน" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV ของกลุ่ม พนักงานบริษัทเอกชน, การให้ความสำคัญต่อส่วนผสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อ, ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล, ความแตกต่างของการให้ความสำคัญต่อส่วนผสมการตลาดตามลักษณะปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและตามทัศนคติในกลุ่ม พนักงานบริษัทเอกชน โดยการวิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง พนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 400 คน และ มีพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เช่น ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเบื้องต้น และใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV ในกลุ่ม พนักงานบริษัทเอกชน กับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และใช้ t-test หรือ One-way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการให้ความสำคัญกับส่วนผสมการตลาดในกลุ่ม พนักงานบริษัทเอกชน และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่ใช้รถยนต์สันดาปภายในเป็นหลัก และมีความเห็นว่ารถยนต์ EV มีคุณภาพใกล้เคียงกับรถยนต์ไฮบริด โดยให้ความสำคัญกับประเด็นการไม่ต้องเติมน้ำมันและการลดมลพิษเป็นข้อดีหลักของรถยนต์ EV ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ รู้จักรถยนต์ EV ยี่ห้อ BYD โดยรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากโซเชียลมีเดีย และถ้าหากต้องมีการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อยี่ห้อ Tesla และ BYD ในด้านส่วนผสมทางการตลาด กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน ให้ความสำคัญโดยภาพรวมในระดับมาก (X̄ = 4.03) โดยให้ความสำคัญกับด้านผลิตภัณฑ์ (Product) (X̄ = 4.23) มากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (People) (X̄ = 4.22) ด้านกระบวนการให้บริการ (Process) (X̄ = 4.16) ด้านภาพลักษณ์องค์กร (Profile) (X̄ = 4.05) ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) (X̄ = 4.04) ด้านราคา (Price) (X̄ = 3.98) และด้านสถานที่ซื้อและช่องทางจัดจำหน่าย (Place) (X̄ = 3.98) ตามลำดับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพทางการสมรส ระดับตำแหน่งงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานที่พักอาศัย และรูปแบบของที่พักอาศัย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการเปรียบเทียบหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของการให้ความสำคัญกับส่วนผสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV ในกลุ่ม พนักงานบริษัทเอกชน จำแนกตามข้อมูลปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลในด้านอายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นของการให้ความสำคัญกับส่วนผสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV ในด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เมื่อจำแนกตามกลุ่มของทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ EV พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/321 |
Appears in Collections: | FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6614011858149.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.