Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/320
Title: Guidelines for Maintaining Quality Management Systems ISO 9001:2015 for Manufacturing Businesses in the Eastern Economic Corridor (EEC)
แนวทางการดำรงอยู่ในระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ของกิจการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เขต EEC
Authors: APICHAYA BOONKAMCHU
อภิชญา บุญค้ำชู
PANNARAI LATA
พรรณราย ละตา
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
PANNARAI LATA
พรรณราย ละตา
pannarai.l@fba.kmutnb.ac.th,pannarail@kmutnb.ac.th
pannarai.l@fba.kmutnb.ac.th,pannarail@kmutnb.ac.th
Keywords: ระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001 การนำระบบการบริหารคุณภาพไปใช้ในองค์กร การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
Quality Management System
ISO 9001 Standard
Implementation of Quality Management System
Continuous Improvement
Efficient Resource Management
Executive Participation
Issue Date:  8
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: This study aimed to: 1) examine the operational characteristics of enterprises in the manufacturing sector within the Eastern Economic Corridor (EEC), 2) explore the approaches to maintaining a quality management system based on ISO 9001:2015, and 3) compare the differences in such approaches based on the operational characteristics of the organizations. The sample consisted of 125 legal entities in the EEC manufacturing sector that had been certified with ISO 9001:2015. The respondents were executives and management representatives in organizations certified under the ISO 9001:2015 quality management system. The research instrument used was a questionnaire. The overall reliability coefficient (Cronbach's alpha) of the instrument was 0.94, and the corrected item-total correlation values ranged from 0.30 to 0.79 across 24 items. The statistical methods used for data analysis included frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing, the study employed independent sample t-tests, one-way analysis of variance (ANOVA), and Scheffe’s method for pairwise comparisons.The research findings revealed the following: 1) Regarding the personal characteristics of the respondents, most of them were female, aged between 40–50 years, held a bachelor's degree, had 5–10 years of work experience, earned an average monthly income between 30,000–50,000 Baht, and held the position of Quality Management Representative (QMR) in their organizations. 2) The overall importance level of the approaches to maintaining a quality management system based on ISO 9001:2015 among manufacturing enterprises in the EEC was found to be high. When considering each aspect, the highest mean score was in the area of executive participation at all levels, followed by continuous improvement, implementation of quality management systems, and efficient resource management, respectively. 3) The operational characteristics of organizations had significant effects on the approaches to maintaining a quality management system according to ISO 9001:2015. Differences were found when classified by organization size—especially in small and medium-sized enterprises (SMEs), by duration of business operations—particularly those operating for less than 10 years, by certification period—especially those certified for less than 5 years, and by type of production—most notably in chemical and petrochemical manufacturing sectors.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานของกิจการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เขต EEC 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำรงอยู่ในระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001 : 2015 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแนวทางการดำรงอยู่ในระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001: 2015 จำแนกตามลักษณะการดำเนินงานขององค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ กิจการนิติบุคคลในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เขต EEC ที่ได้รับการรับรอง ISO9001:2015 จำนวน 125 ราย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารองค์กร และตัวแทนฝ่ายบริหาร ในองค์กรที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001 : 2015 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าเท่ากับ 0.30 - 0.79 จากจำนวน 24 ข้อ จากจำนวนข้อคำถามทั้งหมด 24 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง อายุ 40–50 ปี วุฒิการศึกษาปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงาน 5-10 ปี  รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,000-50,000 บาท   และ ตำแหน่งตัวแทนของฝ่ายบริหารระบบคุณภาพในองค์กร (QMR) 2) ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดำรงอยู่ในระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ของกิจการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เขต EEC โดยรวม มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารในทุกระดับมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ISO 9001 ด้านการนำระบบการบริหารคุณภาพไปใช้ในองค์กร และด้านการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ  ตามลำดับ 3) ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรมีผลต่อแนวทางการดำรงอยู่ในระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001 : 2015 แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม จำแนกตามระยะเวลาในการดำเนินงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรที่มีระยะเวลาในการดำเนินงานน้อยกว่า 10 ปี จำแนกตามระยะเวลาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีระยะเวลาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 น้อยกว่า 5 ปี จำแนกตามประเภทการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเภทการผลิตเคมีและปิโตรเคมี
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/320
Appears in Collections:FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6614011858131.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.