Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/32
Title: | Prioritization for routine road maintenance in the responsibility of Public Works Department การจัดลำดับความสำคัญสำหรับการซ่อมบำรุงปกติของถนนในความรับผิดชอบของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร |
Authors: | ANGKANA SOOKKRAI อังคณา สุขไกร CHAIRAT TEERAWATTANASUK ชัยรัตน์ ธีระวัฒนสุข King Mongkut's University of Technology North Bangkok CHAIRAT TEERAWATTANASUK ชัยรัตน์ ธีระวัฒนสุข chairat.t@cit.kmutnb.ac.th,chairatte@kmutnb.ac.th chairat.t@cit.kmutnb.ac.th,chairatte@kmutnb.ac.th |
Keywords: | การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น การซ่อมบำรุงปกติ การตัดสินใจ Analytic Hierarchy Process Routine Road maintenance Decision Making |
Issue Date: | 9 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | The objectives of this master project are to study the factors and prioritize the elements influencing decision-making in routine road maintenance under the responsibility of Public Works Department. In this study, the Analytic Hierarchy Process (AHP) was employed by interviewing five decision-makers involved in road maintenance to complete the AHP questionnaires. The respondents focused on four main roads under the Public Works Department such as Nimitmai, Khu Khlong Sip, Chatuchot, and Sukhaphiban 4 Road.The research findings indicate that the key factors influencing road maintenance decisions, ranked from highest to lowest, are as follows: Pavement Condition Index (PCI) of 25%, International Roughness Index (IRI) of 23%, traffic volume and number of complaints of 10%, population density, and policy urgency of 9%, number of accidents and road type of 5%, and government agencies and important locations of 4%, respectively. When these main factors were compared using pairwise comparisons for the four roads, the priority rankings in terms of weight from highest to lowest roads were Sukhaphiban 4 of 47%, Nimitmai and Chatuchot of 20%, and Khu Khlong Sip of 13%, respectively. These findings provide a useful guideline for effectively planning and prioritizing road maintenance in the future. สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงปกติของถนนในความรับผิดชอบของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) โดยสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซ่อมบำรุงทาง จำนวน 5 ราย เพื่อทำแบบสอบถาม AHP และให้ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซ่อมบำรุงทางเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ถนนในความรับผิดชอบของสำนักการโยธามีจำนวน 4 สายทาง ได้แก่ ถนนนิมิตใหม่ ถนนคู้คลองสิบ ถนนจตุโชติ และ ถนนสุขาภิบาล 4ผลจากการวิจัยพบว่าผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซ่อมบำรุงทางได้ให้ค่าน้ำหนักของปัจจัยหลัก จากมากไปหาน้อยดังนี้ ค่าดัชนีสภาพทาง (Pavement Condition Index, PCI) คิดเป็นร้อยละ 25 ค่าดัชนีความเรียบขรุขระสากล (International Roughness Index, IRI) คิดเป็นร้อยละ 23 ปริมาณจราจร และจำนวนข้อร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 10 ความหนาแน่นของประชากร และ ความเร่งด่วนทางด้านนโยบาย คิดเป็นร้อยละ 9 จำนวนอุบัติเหตุ และประเภทของถนน คิดเป็นร้อยละ 5 หน่วยงานราชการและสถานที่สำคัญ คิดเป็นร้อยละ 4 ตามลำดับ เมื่อนำปัจจัยหลักเปรียบเทียบเชิงคู่กับถนนในความรับผิดชอบของสำนักการโยธา จำนวน 4 สายทาง จัดลำดับความสำคัญเรียงค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ถนนสุขาภิบาล 4 คิดเป็นร้อยละ 47 ถนนนิมิตใหม่ และถนนจตุโชติ คิดเป็นร้อยละ 20 ถนนคู้คลองสิบ คิดเป็นร้อยละ 13 ตามลำดับผลการวิจัยดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการซ่อมบำรุงถนนอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/32 |
Appears in Collections: | COLLEGE OF INDUSTRIAL TECHNOLOGY |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6503062851567.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.