Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/319
Title: | Maintenance Management of Electrical Systems and Instrumentation Equipment for Chemical And Plastic Manufacturing Plants in the Eastern Region การจัดการงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องมือวัดของโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติกภาคตะวันออก |
Authors: | SUPHAKIT THANOMJIT ศุภกิตติ์ ถนอมจิตร PANNARAI LATA พรรณราย ละตา King Mongkut's University of Technology North Bangkok PANNARAI LATA พรรณราย ละตา pannarai.l@fba.kmutnb.ac.th,pannarail@kmutnb.ac.th pannarai.l@fba.kmutnb.ac.th,pannarail@kmutnb.ac.th |
Keywords: | เคมีภัณฑ์และพลาสติก ซ่อมบำรุง อัตโนมัติ เชิงพยากรณ์ ปัญญาประดิษฐ์ Chemicals and Plastics Maintenance Automation Predictive Artificial Intelligence |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | The manufacturing industry is undergoing rapid transformation, particularly with the emergence of Industry 4.0, which emphasizes the use of advanced technologies such as automation and artificial intelligence (AI) to enhance production efficiency, reduce costs, and respond flexibly to market demands. The purposes of this study were: 1) Study the operational characteristics of industrial business organizations in the Eastern region, 2) Examine the maintenance management of electrical systems and instrumentation equipment in chemical and plastic manufacturing plants in the Eastern region, 3) Compare the differences in maintenance management of electrical systems and instrumentation equipment based on organizational operational characteristics, The research population consists of 12,813 registered juristic factories in Rayong province. The sample size was calculated using Yamane’s formula (1974), yielding 388 factories. Data were successfully collected from 125 factories. The research instrument was a questionnaire. Statistical methods used for data analysis included t-test, one-way analysis of variance (ANOVA), and Scheffe’s post hoc test. The findings revealed that 1) Most factories in the Eastern region have been in operation for more than 10 years, employ more than 10 maintenance personnel, focus on chemical production, consume less than 1,000,000 kWh of electricity per month on average, and operate more than 100 machines. 2) Overall, the maintenance management of electrical systems and instrumentation equipment was found to be at a high level. Among the various aspects, maintenance during shutdown had the highest average score, followed by maintenance during equipment failure, emergency breakdown maintenance, maintenance during operation, and predictive maintenance, respectively. 3) Hypothesis testing indicated that differences in operational characteristics affected the maintenance management practices. However, in terms of production type, the overall maintenance management was not significantly different. Still, differences were found in maintenance during equipment failure and predictive maintenance. Factories involved in plastic manufacturing placed greater emphasis on these aspects compared to those in chemical manufacturing. The results of this study can serve as a guideline for organizations to understand approaches to maintenance management of electrical systems and instrumentation equipment. Executives can use this information to formulate organizational strategies for sustainable competitive advantage. Furthermore, the findings support the application of maintenance models to address challenges such as production delays caused by slow repair of machinery and equipment, and to enhance production capacity in the manufacturing sector. อุตสาหกรรมการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างยืดหยุ่นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานขององค์กรภาคธุรกิจภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาการจัดการงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องมือวัดของโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติกภาคตะวันออก 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการจัดการงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องมือวัดของโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติกภาคตะวันออก จำแนกตามลักษณะการดำเนินงานขององค์กร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กิจการนิติบุคคลในจังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 12,813 โรงงาน โดยคำนวณจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Yamane (1974) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 388 โรงงาน และ สามารถเก็บข้อมูลได้จริง 125 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Scheffe)ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจการโรงงานในภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 10 ปีขึ้นไป มีจำนวนพนักงานในแผนกซ่อมบำรุง 10 คนขึ้นไป การผลิตประเภทผลิตเคมีภัณฑ์ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 1,000,000 kWH และ จำนวนเครื่องจักรในองค์กรมากกว่า 100 เครื่อง 2) การจัดการงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องมือวัดของโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติกภาคตะวันออกโดยรวม มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบำรุงรักษาขณะหยุดเครื่องมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการบำรุงรักษาขณะเครื่องเสีย ด้านการซ่อมฉุกเฉินหยุดกะทันหัน ด้านการบำรุงรักษาขณะเดินเครื่อง และด้านการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ ตามลำดับ 3) ผลทดสอบสมมติฐานที่พบว่า ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรแตกต่างกันส่งผลต่อการจัดการงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องมือวัดของโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติกภาคตะวันออก แตกต่างกัน จำแนกตามประเภทการผลิต โดยรวม โดยเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน องค์กรที่มีประเภทการผลิตที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ด้านการบำรุงรักษาขณะเครื่องเสียด้านการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ โดยเฉลี่ย แตกต่างกันโดยองค์กรที่มีการผลิตประเภทผลิตพลาสติกให้ความสำคัญเกี่ยวกับด้านการบำรุงรักษาขณะเครื่องเสีย ด้านการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ โดยเฉลี่ยมากกว่า องค์กรที่มีการผลิตประเภทผลิตเคมีภัณฑ์ ประโยชน์ของการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางให้สถานประกอบการหรือองค์กรทราบลักษณะแนวทางการจัดการงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องมือวัด เพื่อให้ผู้บริหารนำไปเป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนดกลยุทธ์องค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไปเพื่อนำรูปแบบการบริหารงานซ่อมบำรุงรักษามาใช้เพื่อการแก้ปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆ เช่น ด้านความล่าช้าในการผลิตอันเนื่องมาจากความล่าช้าในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตในอุตสาหกรรมการผลิต ด้านการเพิ่มศักยภาพการผลิต |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/319 |
Appears in Collections: | FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6614011858122.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.