Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/90
Title: | Creating the EWItp Toolset Innovation for Emotional Well-being Development of Hospital Employees การสร้างนวัตกรรมชุดเครื่องมือ EWItp เพื่อพัฒนาความผาสุกทางอารมณ์ ของพนักงานโรงพยาบาล |
Authors: | SANWIT CHUAPHISUTKUL สรรวิทย์ เชื้อพิสุทธิ์กุล BENJAWAN BOONYAPRAPHAN เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์ King Mongkut's University of Technology North Bangkok BENJAWAN BOONYAPRAPHAN เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์ benjawan.b@arts.kmutnb.ac.th,benjawanb@kmutnb.ac.th benjawan.b@arts.kmutnb.ac.th,benjawanb@kmutnb.ac.th |
Keywords: | ความผาสุกทางอารมณ์ การพัฒนาความผาสุกทางอารมณ์ นวัตกรรมชุดเครื่องมือ EWItp Emotional Well-being Emotional Well-being Development EWItp Toolset |
Issue Date: | 9 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | This quasi-experimental study aimed to (1) examine the level of Emotional Well-being among hospital employees, and (2) investigate the effect of the use of the EWItp toolset on their emotional well-being. The first sample group consisted of285 support staff from hospital A and B. The second sample group comprised 12 participants who scored below the 25th percentile in Emotional Well-being and voluntarily participated in the intervention. The research instruments included an Emotional Well-being questionnaire with a reliability score of 0.884 and the EWItp toolset for Emotional Well-being development incorporated a diverse range of systematically interconnected activities. It included emotion reflection cards and board games designed to help users explore their emotions, thoughts, and self-regulation skills across various situations. The toolset received an appropriateness rating of 4.58 for practical application. Data were analyzed using frequency analysis, percentage calculations, mean and standard deviation assessments, and a Paired Sample t-test.The research findings revealed that the overall level of Emotional Well-being among the employees was high X̄= 4.00, SD = 0.60). When comparing the pre-test and post-test results of using the EWItp toolset, it was found that the level of Emotional Well-being after the experiment (X̄= 4.07, SD = 0.094) was significantly higher than before the experiment (X̄= 2.47, SD = 0.094) with statistical significance at the 0.01 level. This indicates that the EWItp toolset is effective in enhancing Emotional Well-being. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของความผาสุกทางอารมณ์ของพนักงานโรงพยาบาล และ (2) ศึกษาผลของการใช้ชุดเครื่องมือ EWItp ต่อความผาสุกทางอารมณ์ของพนักงานโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรกคือ พนักงานสายสนับสนุนจากโรงพยาบาล A และ B จำนวนทั้งสิ้น 285 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ พนักงานโรงพยาบาลสายสนับสนุนที่มีระดับความผาสุกทางอารมณ์ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 12 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความผาสุกทางอารมณ์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.884 และชุดเครื่องมือ EWItp เพื่อพัฒนาความผาสุกทางอารมณ์ ซึ่งมีการออกแบบกิจกรรมที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยประกอบด้วยการ์ดสะท้อนอารมณ์และเกมกระดานที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้สำรวจอารมณ์ ความคิด และทักษะการจัดการตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีค่าความเหมาะสมในการนำไปใช้เท่ากับ 4.58 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนนาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วย Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่าระดับความผาสุกทางอารมณ์ โดยรวมของพนักงานอยู่ในระดับสูง (X̄= 4.00, SD = 0.60) และเมื่อเปรียบเทียบก่อนการทดลองและหลังการทดลองใช้ชุดเครื่องมือ EWItp พบว่าระดับความผาสุกทางอารมณ์หลังการทดลอง (X̄= 4.07, SD = 0.094) สูงกว่าก่อนการทดลอง (X̄ = 2.47, SD = 0.094) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นจึงสามารถแสดงให้เห็นว่า ชุดเครื่องมือ EWItp มีประสิทธิภาพในการพัฒนาความผาสุกทางอารมณ์ |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/90 |
Appears in Collections: | FACULTY OF APPLIED ARTS |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6608031816160.pdf | 6.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.