Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/357
Title: | The Model Development of Executives Capability in Waste to Energy Business in the Digital Era การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้บริหารในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในยุคดิจิทัล |
Authors: | PUNORN CHATCHAWANPUN พันธ์อร ชัชวาลย์พันธ์ SOMNOEK WISUTTIPAT สมนึก วิสุทธิแพทย์ King Mongkut's University of Technology North Bangkok SOMNOEK WISUTTIPAT สมนึก วิสุทธิแพทย์ somnoek.w@op.kmutnb.ac.th,noekwisu@kmutnb.ac.th somnoek.w@op.kmutnb.ac.th,noekwisu@kmutnb.ac.th |
Keywords: | รูปแบบการพัฒนา ศักยภาพผู้บริหาร พลังงานขยะ ยุคดิจิทัล Model Development Executives’ Potential Waste to Energy Digital Era |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | The research titled “The Development of an Executive Potential Model in the Waste-to-Energy Power Plant Business in the Digital Era” aims to (1) study the components involved in developing executive potential in the waste-to-energy power plant business in the digital era, (2) develop a model for executive potential in the waste-to-energy power plant business in the digital era, and (3) create a guideline manual for executive potential development in the waste-to-energy power plant business in the digital era. The research employed the Delphi technique, in-depth interviews, and focus group discussions. The participants consisted of four groups: energy experts who responded to questionnaires, experts who evaluated the questionnaires, professionals who participated in focus group discussions, and specialists who assessed the manual. Data were analyzed using content analysis, the median statistic, and the interquartile range (IQR.)The research results found that the executive potential model in waste-to-energy power plant businesses in the digital era consists of 3 dimensions and 15 main components as follows: Dimension 1, Knowledge, includes 1.1 digital technology, 1.2 environment and sustainability, 1.3 operations, 1.4 regulations and community participation, and 1.5 finance and strategy. This covers 10 sub-components: 1) AI, IoT, and Big Data technologies in waste-to-energy systems, 2) waste separation and pollution control, 3) environmental law and safety, 4) environmental management, 5) energy strategy planning and collaboration, 6) resource and process management, 7) safety standards and community participation, 8) personnel development, 9) benefit and investment analysis, and 10) risk management in waste-to-energy power plants. Dimension 2, Skills, includes 2.1 strategic leadership, 2.2 digital technology and data analytics, 2.3 communication and participation, 2.4 project and resource management, and 2.5 problem-solving and innovation implementation. This covers 10 sub-components: 1) strategic planning and collaboration, 2) change and risk management, 3) efficiency enhancement through AI, IoT, and Big Data automation, 4) crisis management and environmental compliance, 5) communication and listening to target groups, 6) knowledge dissemination and relationship management, 7) project and budget management, 8) training and consulting, 9) stakeholder management and contextual adaptation, and 10) development of waste-to-energy innovation. Dimension 3, Personal Attributes, includes 3.1 integrity and professionalism, 3.2 commitment to community and environment, 3.3 growth and resilience, 3.4 vision and strategic thinking, and 3.5 collaboration and integrative thinking. This covers 10 sub-components: 1) organizational governance and professionalism, 2) respect and acceptance of diversity, 3) social and community responsibility, 4) sustainability mindset for society and environment, 5) open-mindedness and inspiration, 6) flexibility and growth mindset, 7) leadership and strategic adaptation, 8) vision in digital technology, 9) decisiveness and creative cooperation, and 10) adaptability to change. The executive potential model in waste-to-energy power plant businesses in the digital era was approved in focus group discussions for appropriateness and applicability. The results of the manual preparation showed that it is suitable and can be applied for potential development. การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้บริหารในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในยุคดิจิทัล” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพผู้บริหารในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในยุคดิจิทัล และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในยุคดิจิทัล การวิจัยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi) การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่มย่อย โดยมีผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ตอบแบบข้อสอบถาม ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแบบสอบถาม ผู้ทรงคุณวุฒิประชุมสนทนากลุ่มและผู้เชี่ยวชาญประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติค่ามัธยฐาน (Median) กับค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR)ผลวิจัยพบว่ารูปแบบศักยภาพผู้บริหารในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในยุคดิจิทัล มี 3 มิติ 15 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ มิติที่ 1 ด้านความรู้ (Knowledge) คือ 1.1 ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 1.2 ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 1.3 ด้านการดำเนินงาน 1.4 ด้านกฎระเบียบและการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 1.5 ด้านการเงินและกลยุทธ์ ครอบคลุม 10 องค์ประกอบย่อย คือ 1) เทคโนโลยี AI IoT และ Big Data ในระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานขยะ 2)การแยกขยะและควบคุมมลพิษ 3)กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 4)การจัดการสิ่งแวดล้อม 5)แผนกลยุทธ์พลังงานและการสร้างความร่วมมือ 6)การจัดการทรัพยากรและกระบวนการ7)มาตรฐานความปลอดภัยและการมีส่วนร่วมของชุมชน 8)การพัฒนาบุคลากร 9) การวิเคราะห์ผลประโยชน์และ การลงทุน และ10) การบริหารความเสี่ยงโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ 2. มิติ ที่ 2 ด้านทักษะ(Skills) คือ 2.1 การเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ 2.2 ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูล 2.3 การสื่อสารและการมีส่วนร่วม 2.4 การจัดการโครงการและทรัพยากร และ 2.5 การแก้ปัญหาและการนำนวัตกรรมมาใช้ ครอบคลุม 10 องค์ประกอบย่อย คือ 1) การกำหนดแผนกลยุทธ์และการทำงานร่วมกัน 2) การบริหารการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยง 3) การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยกระบวนการอัตโนมัติจากการใช้ AI, IoT และ Big Data 4) การจัดการวิกฤติและการปฏิบัติตามข้อกำหนด ด้านสิ่งแวดล้อม 5) การสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมาย 6) การเผยแพร่ความรู้และการบริหารความสัมพันธ์ 7) การบริหารโครงการและงบประมาณ 8) การฝึกอบรมและให้คำปรึกษา 9) การบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการปรับตัวตามบริบท และ 10)การพัฒนานวัตกรรมพลังงานขยะ และ มิติที่ 3 ด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล คือ 3.1 มีความซื่อสัตย์และความเป็นมืออาชีพ 3.2 มีความมุ่งมั่นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 3.3 การเติบโตและความยืดหยุ่น 3.4 มีวิสัยทัศน์และความคิดเชิงกลยุทธ์ และ 3.5 การทำงานร่วมกันและความคิดเชิงบูรณาการ ครอบคลุม 10 องค์ประกอบย่อย คือ 1) มีธรรมาภิบาลองค์กร และความเป็นมืออาชีพ 2) เคารพและยอมรับความหลากหลาย 3) มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน 4) มีความคิดมุ่งสู่ความยั่งยืนเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 5) เปิดใจรับฟังและการเสริมสร้างแรงบันดาลใจ 6) มีความยืดหยุ่นและการคิดเชิงเติบโต 7) มีภาวะผู้นำและการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ 8) มีวิสัยทัศน์เชิงเทคโนโลยีดิจิทัล 9) กล้าตัดสินใจ ให้ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ และ 10) มีการปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลง โดยรูปแบบศักยภาพผู้บริหารในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในยุคดิจิทัลได้รับการลงมติเห็นชอบในการประชุมสนทนากลุ่มด้านความเหมาะสมและการนำไปใช้และผลการจัดทำคู่มือพบว่ามีความเหมาะสมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพได้ |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/357 |
Appears in Collections: | FACULTY OF BUSINESS AND INDUSTRIAL DEVELOPMENT |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6516011956097.pdf | 10.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.