Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/356
Title: | The Potential Development of Competency Model for Chief Electrical System Engineers in the Construction Large Industrial Plants การพัฒนารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าวิศวกรงานระบบไฟฟ้าในงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ |
Authors: | PONGSAK RATTANAPUN พงษ์ศักดิ์ รัตนพันธ์ SUCHART SIENGCHIN สุชาติ เซี่ยงฉิน King Mongkut's University of Technology North Bangkok SUCHART SIENGCHIN สุชาติ เซี่ยงฉิน suchart.s@op.kmutnb.ac.th,sucharts@kmutnb.ac.th suchart.s@op.kmutnb.ac.th,sucharts@kmutnb.ac.th |
Keywords: | การพัฒนารูปแบบสมรรถนะ หัวหน้าวิศวกร ระบบไฟฟ้าในงานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ Competency Model Chief Electrical System Engineer Industrial Factory Construction Large Industrial Plants |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
Abstract: | The objectives of the study “The Potential Development Model Competency of chief electrical system engineers in the construction large industrial plants.” are 1) study and analyze the key components necessary for developing the competencies of chief electrical system engineers in managing electrical construction systems, 2) develop a comprehensive competency model for chief engineers in this context, and 3) create a manual for competency development in this field. The research employed the Delphi technique and focus group discussions. The research was conducted using the Delphi technique and focus group discussions. The target group consisted of 19 experts with over five years of experience in executive or ownership positions in large-scale industrial electrical system construction and had served as senior executives or business owners for no less than 5 years and three groups of specialists: 1) five experts for Index of Item-Objective Congruence (IOC) evaluation, 2) fourteen qualified experts for focus group discussions, and 3) five experts for manual evaluation. The research methodology included qualitative content analysis and statistical analysis using median and inter-quartile range.The research findings revealed that the developed competency model comprised three main components with a total of 15 subcomponents. The first component, Knowledge, consisted of: (1) professional expertise, (2) strategic problem-solving knowledge, (3) legal knowledge, (4) safety knowledge, and (5) budget management knowledge. The second component, Skills, included: (1) planning and resource allocation, (2) problem-solving, (3) coordination, (4) technology utilization, (5) delegation, and (6) monitoring and control. The third component, Personal Attributes, consisted of: (1) a strong drive for continuous development, (2) openness to diverse perspectives, (3) integrity and fairness, and (4) leadership in project management.The developed manual for competency development was divided into two sections: (1) the rationale and principles behind the manual, and (2) developmental guidelines for enhancing chief engineers’ competencies in large-scale industrial electrical system construction. The manual included three key learning approaches and was unanimously approved by the expert panel as appropriate and applicable for professional practice. การพัฒนารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าวิศวกรงานระบบไฟฟ้าในงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าวิศวกรงานระบบไฟฟ้าเพื่อบริหารงานงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าวิศวกรงานระบบไฟฟ้าของโครงการงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหัวหน้าวิศวกรระบบไฟฟ้าของงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดำเนินการทำวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายและการประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญในก่อสร้างระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของกิจการมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 19 ท่าน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม (IOC) จำนวน 5 ท่าน 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 14 ท่าน และ 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคู่มือ จำนวน 5 ท่าน โดยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโดยใช้ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter Quartile Range) ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าวิศวกรงานระบบไฟฟ้าในงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 คือ ด้านความรู้ มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ 2) ความรู้ในการแก้ไขปัญหาเชิงกลยุทธ์ 3) ความรู้ด้านกฎหมาย 4) ความรู้ด้านความปลอดภัยและ 5) ความรู้ด้านการบริหารงบประมาณ องค์ประกอบหลักที่ 2 คือ ด้านทักษะ มี 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ทักษะในการวางแผนและจัดสรรทรัพยากร 2) ทักษะในการแก้ไขปัญหา 3) ทักษะการติดต่อประสานงาน 4) ทักษะการใช้เทคโนโลยี 5) ทักษะในการมอบหมายการดำเนินงาน และ 6) ทักษะการติดตามควบคุม องค์ประกอบหลักที่ 3 คือ ด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) มีความมุ่งมั่นพัฒนา 2) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย 3) มีความซื่อสัตย์ยุติธรรมและ 4) มีความเป็นผู้นำในการบริหารงาน ผลการจัดทำคู่มือแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าวิศวกรงานระบบไฟฟ้าในงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดย ส่วนที่ 1 หลักการและเหตุผลของการจัดทำคู่มือ และส่วนที่ 2 แนวการพัฒนารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าวิศวกรงานระบบไฟฟ้าในงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 3 แนวทางการเรียนรู้ ทั้งรูปแบบและคู่มือแนวทางในการพัฒนารูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าวิศวกรงานระบบไฟฟ้าในงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้รับการลงมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้เชี่ยวชาญในด้านความเหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ |
URI: | http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/356 |
Appears in Collections: | FACULTY OF BUSINESS AND INDUSTRIAL DEVELOPMENT |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
s6516011956089.pdf | 13.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.