Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/109
Title: Guidelines for deciding to install solar energy panels for industrial plants in Thailand
แนวทางการตัดสินใจติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย
Authors: NOPPORN EADSEE
นพพร เอียดสี
PHAIRHOOTE PHIPHOPAEKASIT
ไพโรจน์ พิภพเอกสิทธิ์
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
PHAIRHOOTE PHIPHOPAEKASIT
ไพโรจน์ พิภพเอกสิทธิ์
phairhoote.p@bsa.kmutnb.ac.th,phairhootep@kmutnb.ac.th
phairhoote.p@bsa.kmutnb.ac.th,phairhootep@kmutnb.ac.th
Keywords: การตัดสินใจ
ติดตั้ง
พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย
deciding to install
solar energy panels for industrial
plants in Thailand
Issue Date:  9
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: The objectives of this research are: 1. To study the current situation and problems in decision-making regarding the installation of solar panels in industrial factories in Thailand. 2. To study the level of perceived benefits of solar panels, attitudes towards solar panels, and the decision-making process for installing solar panels. 3. To study the development of a causal factor model that influences the decision to install solar panels for industrial factories in Thailand. 4. To propose decision-making guidelines for the installation of solar panels for industrial factories in Thailand. The tools used in the research were interviews. The study sample included key informants involved in solar panel installation for industrial factories, such as company managers, heads of purchasing departments, coordinating supervisors, and organizational communications managers. A total of seven individuals with at least three years of management experience were selected using a nonprobability sampling method, specifically purposive sampling. Moreover, the research involved a questionnaire survey. The sample group consisted of 340 factory managers from industrial factories licensed by the Energy Regulatory Commission. The statistics used in the research included percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis, reliability, and structural equation modeling analysis.The research findings reveal that: 1. The current situation and problems related to the decision to install solar panels in industrial factories in Thailand show that the main issues hindering the decision include high initial costs, a long payback period, limitations in the factory's infrastructure, uncertainty in technology, and future energy policies. These factors lead some companies to hesitate when it comes to long-term investment in solar energy systems. 2. The level of awareness of the benefits of solar panels is found to be very high, with an average score of 4.32. The overall attitude towards solar panels is also very high, with an average score of 4.31, and the decision to install solar panels is at a very high level, with an average score of 4.41. 3. The development of a causal factor model influencing the decision to install solar panels for industrial factories in Thailand is found to be consistent with empirical data, with statistical significance. 4. The guidelines for deciding to install solar panels for industrial factories in Thailand consist of 6 approaches and recommendations: 1) Regarding awareness of the benefits, it is advisable to use a solar panel electricity generation system as it meets the company’s daily electricity needs. 2) Regarding the attitude, it is recommended to use solar panels for electricity production from solar energy rather than other types of renewable energy. 3) Regarding the decision to install, it is suggested to install solar energy systems when expanding new factories, as it can reduce long-term costs.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการตัดสินใจติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย 2. ศึกษาระดับการรับรู้ประโยชน์แผงพลังงานแสงอาทิตย์ ทัศนคติต่อแผงพลังงานแสงอาทิตย์ และการตัดสินใจติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ 3. ศึกษาการพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย และ 4. นำเสนอแนวทางการตัดสินใจติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ระดับผู้จัดการบริษัท หัวหน้าแผนกจัดซื้อ ผู้ดูแลประสานงาน ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์การ จำนวน 7 คน มีประสบการณ์ในผู้บริหารงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้จัดการโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จำนวน 340 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าความเชื่อถือได้ และวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันและปัญหาการตัดสินใจติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย ภาพรวม พบว่า ปัญหาหลักที่ขัดขวางการตัดสินใจติดตั้ง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่สูง การคืนทุนที่ใช้เวลานาน การมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานของโรงงาน ความไม่แน่นอนของเทคโนโลยี และนโยบายพลังงานในอนาคต ส่งผลให้บางบริษัทลังเลในการลงทุนระยะยาวในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ 2. ระดับการรับรู้ประโยชน์แผงพลังงานแสงอาทิตย์ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.32 ทัศนคติต่อแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.31 และการตัดสินใจติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.41 3. การพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย พบว่า สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/109
Appears in Collections:FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION AND SERVICE INDUSTRY

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6617021856095.pdf12.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.