Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/100
Title: The Development of Potential Model for the Project Manager in Medium-Sized Housing Development in the Digital Technology Era
การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้บริหารโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล
Authors: PANOTE MONGKOLTUMMAKUL
ปณต มงคลธรรมากุล
SOMNOEK WISUTTIPAT
สมนึก วิสุทธิแพทย์
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
SOMNOEK WISUTTIPAT
สมนึก วิสุทธิแพทย์
somnoek.w@op.kmutnb.ac.th,noekwisu@kmutnb.ac.th
somnoek.w@op.kmutnb.ac.th,noekwisu@kmutnb.ac.th
Keywords: ทางการพัฒนาศักยภาพ  ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง  หมู่บ้านจัดสรรขนาดกลาง   ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล
Development of Potential Model
Project Manager
Medium-Sized Housing Development
Digital Technology Era
Issue Date:  9
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: This research aimed to study the potential factors that contribute to the potential model for project managers in medium-sized housing development in the digital technology era. The study also sought to develop guidelines for enhancing this model. The Delphi technique was employed with a group of 21 purposively selected experts, including executives from the real estate industry, scholars, entrepreneurs, and managers in the sector. The research instruments included in-depth interviews in the first round, followed by closed-ended questionnaires in the second and third rounds. A focus group discussion with 13 experts provided additional suggestions and assessed the model’s suitability. Finally, a group of five experts evaluated the guidelines. Data analysis involved the use of median and interquartile range.The findings revealed that the potential model for project managers in medium-sized housing development in the digital technology era consisted of five main factors and 19 components. The factors were: 1) Planning, which includes business strategy planning, operations planning, manpower Planning, resource usage planning, and environment and safety planning; 2) Organizing which covers determining organizational structure, defining duties and responsibilities, establishing recruitment methods, and  promoting and developing personnel; 3) Commanding, which includes assigning tasks, developing work processes in the digital technology era, and decision-making/problem-solving; 4) Coordinating, which involves digital technology communication, organizational collaboration, and the application of digital technology in coordination, and 5) Controlling, which includes setting up a work tracking systems, contract management, management reporting, and risk management and cost control. The potential model for project managers in medium-sized housing development in the digital technology era was unanimously deemed suitable by the 13 experts. The guidelines, which included an introduction, a description of the potential model, and recommendations for developing the model, were also considered appropriate and practically implementable.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบศักยภาพ รูปแบบศักยภาพ และจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi) ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักคือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน คัดเลือกแบบเจาะจงเลือก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้บริหารสถานประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรอบที่ 1 และแบบสอบถามปลายปิด รอบที่ 2 และ 3 และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน เพื่อให้ข้อเสนอแนะและประเมินรูปแบบ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมินคู่มือ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพผู้บริหารโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลาง ในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก และ 19 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1. ด้าน การวางแผน (Planning) มีจำนวน 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ 1.2 การวางแผนการดำเนินงาน 1.3 การวางแผนด้านกำลังคน 1.4 การวางแผนด้านการใช้ทรัพยากร และ 1.5 การวางแผนด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย 2. ด้านการจัดองค์การ (Organizing) มีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การกำหนดโครงสร้างองค์การ  2.2 การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ 2.3 การกำหนดวิธีการสรรหาบุคลากร และ  2.4 การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร 3. ด้านการสั่งการ (Commanding) มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1 การมอบหมายงานและสั่งการ 3.2 การพัฒนากระบวนการทำงานในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และ 3.3 การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ 4. ด้านการประสานงาน (Coordinating)  มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1 การติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยีดิจิทัล 4.2 การทำงานร่วมกันในองค์กร และ 4.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประสานงาน และ 5. ด้าน การควบคุม (Controlling) มีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 5.1 การกำหนดระบบติดตามงาน 5.2 การบริหารสัญญา 5.3 การรายงานข้อมูลเพื่อการบริหาร และ 5.4 การบริหารความเสี่ยงและควบคุมต้นทุน โดยมีผลการประเมินรูปแบบจากการจัดประชุมสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 13 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่ารูปแบบศักยภาพผู้บริหารโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล มีความเหมาะสม ส่วนคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1  บทนำ ส่วนที่ 2 รูปแบบศักยภาพของผู้บริหารโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และส่วนที่ 3 แนวทาง การพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน เห็นว่ามีความเหมาะสมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/100
Appears in Collections:FACULTY OF BUSINESS AND INDUSTRIAL DEVELOPMENT

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6516011956071.pdf11.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.